Skip to content

Latest commit

 

History

History
169 lines (107 loc) · 13.2 KB

create.md

File metadata and controls

169 lines (107 loc) · 13.2 KB
description
ไหนดูดิที่เก็บไฟล์ 1GB ราคา 0.6 บาทมันเป็นยังไง ?

ลองสร้างที่เก็บไฟล์กันเลย

ในรอบนี้เราจะลงสร้างที่เก็บไฟล์ธรรมดาก่อน หรือเราเรียกมันว่า Blob storage นั่นเอง

{% hint style="info" %} Azure Portal
เนื้อหาในรอบนี้จะต้องเข้าไปที่ทำที่เว็บ https://portal.azure.com นี้นะครับ ซึ่งเราต้องสมัครสมาชิกก่อนด้วย ส่วนถ้าใครยังไม่ได้สมัครก็ไปสมัครให้เรียบร้อยแซ๊ร (วิธีสมัครจิ้มตรงนี้) {% endhint %}

🤔 สร้าง Azure Storage ทำไง ?

1.ที่เมนูด้านซ้ายมือให้เลือก Resource groups ซะ แล้วในหน้าตรงกลางให้เลือกชื่อ Resource group ที่เราสร้างไว้

2.หลังจากที่เข้ามาใน Resource group แล้วให้กดปุ่ม + ที่มุมบนซ้ายของเมนู

3.ระบบจะพาเราไปที่หน้า Marketplace ซึ่งในหน้า marketplace นี้เป็นหน้าหลักในการเลือก service ที่เราจะทำการสร้าง ซึ่งในรอบนี้เราจะพิมพ์ในช่องค้นหาว่า Storage account แล้วกด Enter เลย

4.ถัดมาเขาก็จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Storage account ว่ามันคืออะไร จะไปศึกษาลองเล่นต่อได้ยังไง ราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนคิดยังไง บลาๆ ก็ถ้าอ่านจนหนำใจแล้วก็จิ้มปุ่ม Create เบาๆไป 1 ทีงับ

5.ในขั้นตอนถัดมาเขาก็จะถามรายละเอียดของ Storage ของเรา ซึ่งในส่วนนี้ก็ค่อยๆเลือกใส่ทีละอันเลย แล้วพอใส่เสร็จก็กดปุ่ม Review + create โลด

ชื่อ รายละเอียด
Storage account name ชื่อ storage ที่จะสร้าง
Location จะสร้างที่เก็บไว้ภูมิภาคไหน (Southeast Asia)
Performance

ประเภทความเร็วของ Harddisk
Standard = จานแม่เหล็กทั่วไป

Permium = solid state drive (SSD)

Replication จะให้เขา backup ข้อมูลเราดีขนาดไหน (ผมเลือก LRS ซึ่งเป็นแบบถูกสุด ส่วนใครจะลองตัวเทพๆก็ได้)
Access tier

ลักษณะข้อมูลที่เก็บเป็นแบบไหน

Cool = นานๆจะมาใช้งานมันทีนึง มันจะช้าหน่อยแต่ถูก

Hot = เรียกใช้มันบ่อยๆ เขาจะเก็บเงินแพงหน่อยแต่รวมๆ ok

6.รอจนกว่าจะเสร็จก็เป็นอันเสร็จพิธี

🤔 สร้างเสร็จแล้วไงต่อ ?

ก็ลองใช้มันสิครับ ซึ่งในตัวอย่างผมจะอัพโหลดไฟล์รูปขึ้นไปเก็บแล้ว แล้วเปิดเป็นสาธารณะให้ใครเข้ามาดูไฟล์ได้นะครับ ดังนั้นก็ทำตามขั้นตอนกันเลย

1.เข้าไปที่ resource group ที่สร้างไว้ แล้วจะเห็น Storage account โผล่ขึ้นมาละ ก็จัดการคลิกมันเข้าไปเลย

2.ถัดเราจะเห็นตัวเก็บข้อมูลทั้ง 4 รูปแบบ Blobs, Files, Tables, Queues ซึ่งในรอบนี้ผมจะอัพโหลดไฟล์ไปที่ Blobs นะครับ ดังนั้นก็จิ้มมันเข้าไปเลย 1 จึ๊ก

3.ในหน้านี้เขาจะบอกว่าเรายังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Container นะ ซึ่งเจ้า container ก็จะเหมือนกับโฟเดอร์นั่นเอง ดังนั้นเราก็จะทำการสร้าง container โดยการกดปุ่ม + Container ไปครับ

4.ถัดมาก็ทำการใส่รายละเอียดของ Container ที่เราจะสร้างครับ พอใส่ครบแล้วก็กดปุ่ม OK เลย

ชื่อ รายละเอียด
Name ชื่อ Container
Public access level สิทธิ์ในการเข้าถึง

{% hint style="info" %} Public access level
ใน container เราสามารถตั้งสิทธิ์ในการเข้าใช้งานได้ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ 3 แบบตามนี้ครับ

  • Private - ไม่ให้คนอื่นเข้ามาใช้งานได้ คนที่ใช้ได้ต้องมี key เท่านั้น
  • Blob - เปิดให้คนอื่นเข้ามาดูข้อมูลของไฟล์ได้ แต่ขอดูทั้ง Container ไม่ได้
  • Container - เปิดให้คนอื่นเข้ามาดูข้อมูลไฟล์และขอดูไฟล์ทั้ง container ได้ แต่ดู container อื่นไม่ได้ {% endhint %}

5.เพียงเท่านี้เราก็จะได้ container มาละ อย่ารอช้ากดเข้าไปเลย

6.หน้านี้จะเป็นหน้าจัดการของใน container และตัว container นี้ ซึ่งเราสามารถอัพโหลดไฟล์ได้จากหน้านี้เลยโดยการกดปุ่ม Upload ที่มุมบนซ้าย

7.หน้าต่าง Browse file ก็จะโผล่ขึ้นมา เราก็ทำการเลือกรูปแล้วปุ่ม Upload ไปซะ

ในหน้านี้เราสามาถตั้งค่าได้อีกจากการเลือก Advanced แต่รายละเอียดการตั้งค่านี้จะอยู่กับบทความอื่นนะครับ ลองหาอ่านได้จาก side menu

อัพโหลดเสร็จละกดปิดโลด

8.หลังจากที่อัพโหลดเสร็จแล้วเราก็จะเห็นไฟล์ของเราโผล่ขึ้นมาใน container ดังนั้นก็ลองกดไฟล์นั้นเข้าไปนะครับ

9.ในหน้านี้เขาจะแสดงรายละเอียดของไฟล์ขึ้นมานะครับ ซึ่งของที่เราต้องการจริงๆคือลิงค์ของไฟล์นี้ต่างหาก ดังนั้นผมก็จะกดปุ่ม copy link สีฟ้าๆนั้นเลยครับ แล้วก็ไปเปิด web browser แล้วลองเข้าลิงค์ที่ copy มาดูซิ

10.เรียบร้อยครับผมก็จะเห็นรูปที่ผมอัพโหลดขึ้นไปโชว์อยู่นะครับ ซึ่งผมสามารถเข้าไปดูได้เพราะผมเปิด Container เป็น public นั่นเอง

{% hint style="success" %} แม้ว่าจะอยู่ใน Incognito mode (โหมดไม่ระบุตัวตน) ผมก็สามารถเข้าดูรูปที่ผมอัพโหลดไว้ได้ เพราะ container นี้ตั้งเป็น public blob ครับ {% endhint %}

🤔 จะทำอะไรก็ต้องทำผ่านหน้าเว็บเท่านั้นเหรอ ?

ไม่ใช่ครับ หน้าเว็บเป็นเพียงช่องทางนึงเท่านั้น ซึ่งเราสามารถใช้ command line หรือใช้ IDE เช่น Visual Studio Code หรือใช้โปรแกรม Azure Storage Explorer เข้ามาช่วยก็ได้นะครับ อีกทั้งยังสามารถเขียนโค้ดมาสั่งงานมันได้ด้วยนะเออ

Azure Storage Explorer

🎯 บทสรุป

การสร้างและใช้งาน Azure Storage จริงๆง่ายนิดเดียวจิ้มๆหน่อยนึงก็สามารถมีที่เก็บไฟล์ที่รองรับไฟล์ปริมาณมากได้ แถมเอาไปทำ Big Data ก็ชิวๆ ดังนั้นจงรีบศึกษาทำความเข้าใจ Azure Storage รูปแบบอื่นๆให้เร็วแล้วใช้ให้ถูก เพียงเท่านีก็ช่วยประหยัดต้นทุนเราได้เยอะแล้วครับ

{% hint style="success" %} เนื้อหาของ Azure Storage มีเยอะม๊วก ลองติดตามอ่านได้จาก side menu หมวด Azure Storage นะครับ จะค่อยทยอยเขียนบทความเรื่องพวกนี้ให้อ่านเรื่อยๆครับป๋ม {% endhint %}